7. ประเด็น (Q&A) ของหัวข้อการจัดการความรู้และนวัตกรรม (Knowledge Management : KM & Innovation Management : IM)



Q1 แผนยุทธศาสตร์หรือแผนแม่บทการจัดการความรู้ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นผู้เห็นชอบหรือไม่

ตอบ ถึงแม้ว่า ในเกณฑ์การประเมินผลฯ จะกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า แผนยุทธศาสตร์หรือแผนแม่บท
การจัดการความรู้จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ  อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ
หากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีมติที่ชัดเจนในการมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดใดชุดหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ให้ความเห็นชอบก็ถือว่าสามารถทดแทนกันได้ ทั้งนี้ ต้องมีการนำเสนอให้คณะกรรมการ
รัฐวิสาหกิจได้ทราบ

Q2 หน่วยงานใดควรรับผิดชอบการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ตอบ ขึ้นอยู่กับนโยบายหรือวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจ
แต่ละแห่ง เช่น หากต้องการใช้ KM ในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ หรือบูรณาการไปกับระบบการเรียนรู้
ขององค์กร, KM ควรอยู่กับงาน HRD หากต้องการใช้ KM ในการเป็นเครื่องมือ
ในการสร้าง 
Innovation, KM ควรอยู่กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ Innovation หากต้องการใช้ KM สำหรับการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทำงาน, KM ควรอยู่กับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน Quality หรืองานด้าน OD ฯลฯ

Q3 KM audit ใครต้องเป็นคนสอบทาน และสอบทานอย่างไร

ตอบ KM Audit หมายถึง การสอบทานกระบวนการซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน KM 
และมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นการสอบทานเชิงป้องกัน (Preventive approach) โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. คัดเลือกกระบวนการการจัดการความรู้ที่สำคัญ
  2. คัดเลือกขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญในกระบวนการข้างต้น

การทำ KM Audit ในแต่ละปีนั้น ไม่จำเป็นต้องสอบทานกระบวนงานทั้งหมด แต่ให้มีความชัดเจน
ในการกำหนดวิธีการคัดเลือกกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญเพื่อใช้ในการสอบทาน

 

Q4 การกำหนดความรู้ที่สำคัญเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการจัดการความรู้ ควรมีการดำเนินการอย่างไร

ตอบ ความรู้ที่สำคัญ หมายถึง ความรู้ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งผลต่อความยั่งยืน และช่วยเพิ่ม
ความได้เปรียบในการแข่งขันหรือประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้แก่รัฐวิสาหกิจทั้งในปัจจุบัน
และอนาคต 
ทั้งนี้ แนวปฏิบัติที่ดีในการกำหนดความรู้ที่สำคัญพิจารณา ดังนี้

  1. ความรู้ที่จำเป็นที่ใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจหรือเพิ่ม Competitive advantage หรือ 
    Work efficiency
  2. ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจที่ในอนาคต
  3. ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินยุทธศาสตร์
  4. ความรู้ที่จำเป็นที่สืบเนื่องมาจากการเกษียณอายุของบุคลากรและยังสามารถใช้ต่อเนื่อง
    ได้
    ในอนาคต
  5. ความรู้ที่จำเป็นต่อความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจ

Q5 การแลกเปลี่ยนและถ่ายโอนความรู้สำหรับจุดที่ต้องควบคุม (Control point) หรือขั้นตอน
ที่มีความเสี่ยง (Critical step) ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ แนวทางในการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอนความรู้สำหรับ Control point หรือ Critical step ดังนี้

  1. คัดเลือกกระบวนการทำงานที่สำคัญทั้ง Key และ Support process
  2. ระบุ Control point หรือ Critical step
  3. ต้องรู้ว่าความรู้ที่ใช้ในการทำงานใน Control point หรือ Critical step คือความรู้อะไร 
    และความรู้นั้นสามารถหาจากแหล่งใดได้บ้าง
  4. สร้างกิจกรรมในการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอนความรู้ดังกล่าวผ่านเครื่องมือ/กลไกการจัดการความรู้
    ที่เหมาะสม เช่น AAR, BAR, Story telling, CoPs เป็นต้น

 

Q6 กระบวนการที่สำคัญด้าน KM มีความหมายอย่างไร โดยมีความหมายถึงกระบวนการย่อย
ที่สำคัญในกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรหรือไม่ อย่างไร

ตอบ  กระบวนที่สำคัญด้าน KM หมายถึง กระบวนการย่อยที่สำคัญในกระบวนการจัดการความรู้ของ
องค์กร แต่อย่างไรก็ดี รัฐวิสาหกิจอาจคัดเลือกกระบวนการการจัดการความรู้ที่สำคัญ
เพื่อทำการสอบทาน
ในแต่ละปีได้จากการวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น เป็นกระบวนการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์องค์กร 
เป็นกระบวนการหลักที่สนับสนุนการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น สำหรับขั้นตอนต่อมา 
คือ การคัดเลือกขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญในกระบวนการดังกล่าวอาจคัดเลือกขั้นตอนที่เป็นจุดที่ต้อง
ควบคุมหรือจุดวิกฤต (Control point/Critical step) หรือเป็นขั้นตอนที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
หรือเป็นขั้นตอนที่ผิดพลาดแล้วส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหลือทั้งหมด ทั้งกระบวนการ
หลักและกระบวนการสนับสนุน (Key and Support Processes) ตามบริบทของรัฐวิสาหกิจ

 

Q7 หากดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละข้อในระดับ 1 ไม่ครบถ้วน แต่มีการดำเนินการ
ในระดับ 2 – 5 บางส่วนหรือครบถ้วนจะไม่มีโอกาสได้คะแนนในข้อดังกล่าวเกินระดับ 1 ใช่หรือไม่มี
เกณฑ์พิจารณาอย่างไร ต้องการความชัดเจน เนื่องจากในความเป็นจริงหน่วยงานได้มีการดำเนินงาน
ด้าน km ที่ระบุเกณฑ์ระดับ 3 และ 4 หรือบางส่วนของระดับ 5  ที่เกิดประโยชน์กับองค์กร หากทำได้
ไม่ครบตามเกณฑ์ในระดับ 1 แล้วการดำเนินงาน/กิจกรรมที่ได้ทำแล้วแต่อยู่ในระดับที่สูงกว่าจะไม่ได้
คะแนนองค์กรควรยกเลิกดำเนินงาน/กิจกรรมนั้น แล้วใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำเป็นไปทำงานเฉพาะระดับ 1
2 ก่อนจะดีหรือไม่

ตอบ การให้คะแนนไม่ได้ให้คะแนนเป็นขั้นบันได ให้ตามการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้
ที่รัฐวิสาหกิจดำเนินได้ตามเกณฑ์ประเมิน

 

Q8 ขอทราบตัวอย่างนวัตกรรมที่ได้ใช้เครื่องมือจัดการความรู้ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมีนัย
สำคัญ

 ตอบ การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมี
นัยสำคัญ ได้แก่ การผลิตยาใหม่ๆ ในองค์กรที่เป็นผู้ผลิตยาใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ของผลิตภัณฑ์
ยา องค์ความรู้ในกระบวนการผลิตยา องค์ความรู้หรือข้อมูลสถิติผู้ป่วย รวมถึงบันทึกการค้นคว้า วิจัย 
และทดลองผลิตภัณฑ์ยาในองค์กร เพื่อนำมาคิดค้นเป็นนวัตกรรมยาใหม่ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ

 

Q9 ตามเกณฑ์การประเมินผลด้าน KM ข้อ 1.1 ระดับ 1 กำหนดให้ “ผู้บริหารระดับสูงกำหนดวิสัยทัศน์
ทิศทางการดำเนินงาน หรือนโยบาย รวมถึงเป้าหมายการจัดการความรู้ … โดยวิสัยทัศน์ ทิศทางการ
ดำเนิน
หรือนโยบายดังกล่าว คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ”
มีความหมายอย่างไร โดยเป็นกรณีที่ผู้บริหารระดับสูงจะออกประกาศนโยบายด้านจัดการความรู้ต้องนำ
เสนอประกาศดังกล่าวให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเห็นชอบก่อน ผู้บริหารระดับสูงจึงลงนาม
ประกาศ
ดังกล่าว และเผยแพร่ได้ใช่หรือไหม ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นนโยบายของผู้บริหาร ทำไมต้อง
นำเสนอ
คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเห็นชอบก่อน ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงควรรับนโยบายที่เกี่ยวข้อง
มาจาก
คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ รวมถึงออกประกาศนโยบายที่สอดคล้องและขับเคลื่อนตามนโยบายของ
คณะกรรมการ เป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่าหรือไม่

ตอบ การดำเนินงานทั้ง 2 แบบ สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของเกณฑ์ คือ การให้
คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น การที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนด
วิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินงาน หรือนโยบายรวมถึงเป้าหมายการจัดการความรู้แล้วจึงให้คณะกรรมการ
รัฐวิสาหกิจให้ความเห็นชอบก่อนออกเป็นประกาศ หรือการที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมอบนโยบายแล้ว
ผู้บริหารระดับสูงนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินงาน ฯลฯ สามารถทำได้ทั้ง 2 วิธีการ

 

Q9 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ KM Steering แล้ว ทีมงานชุดอื่นๆ 
จะต้องแต่งตั้งเป็นคำสั่งทางการด้วยหรือไม่ เช่น KM Fa./KM Team/KM Note Taker ฯลฯ เป็นต้น เนื่องจากที่ผ่านมา  มีการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความรู้ในหลายปีมีการแต่งตั้งทีมงานที่เป็นรูปธรรม จนแต่ละหน่วยงานมีการจัดกิจกรรมตาม KM Process เป็นประจำทุกปีแต่ไม่ได้มีการแต่งตั้งทีมงาน
ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเหมือนตอนเริ่มมีการประเมิน KM ในช่วงเริ่มต้นปี 51-52 ครับ

ตอบ ในกรณีของ ปณท ถ้าระเบียบขององค์กรไม่ได้ระบุไว้ว่าการแต่งตั้งทีมงานในระดับดังกล่าวจะต้อง
เป็นอำนาจของใคร หากมีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ก็สามารถดำเนินงานต่อไปได้เลย  โดยที่ไม่ต้องมีการแต่งตั้งกันใหม่

อย่างไรก็ตามรัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ หากยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการจัดการความรู้ที่ไม่มีการแต่งตั้ง
ทีมงานที่เป็น KM Fa/ KM core team ฯลฯ ควรให้มีการมีคำสั่งแต่งตั้ง รวมถึงอำนาจหน้าที่ชัดเจน
ที่เป็นทางการจากผู้มีอำนาจ เพราะหากไม่มีการแต่งตั้งแล้ว การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น การขอความ
ร่วมมือ การให้ Incentive ความมุ่งมั่นในการทำงานของทีม คงเกิดขึ้นได้ยาก และไม่เกิดแรงกระตุ้น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับผิดชอบ

 

 Q10  ขอทราบตัวอย่างการกำหนดตัวชี้วัด Output/Outcome ของการดำเนินงานการจัดการความรู้แต่ละด้าน

ตอบ ตัวอย่างตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการจัดการความรู้ ข้อ 4.1 ในเชิงปริมาณ เช่น จำนวนบุคลากรที่เข้าถึงองค์ความรู้, จำนวนความรู้ที่สำคัญที่ถูกจัดเก็บในระบบสารสนเทศขององค์กร, จำนวนองค์ความรู้ที่บุคลากรเข้าถึงและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ส่วนตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ เช่น กระบวนการทำงาน ที่มีการใช้การจัดการความรู้แล้วเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างในเรื่องระยะเวลาการทำงานน้อยลง Productivity เพิ่มขึ้น ส่วนข้อที่เหลือมีแนวคิดประมาณนี้ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

Q11 ขอสอบถามในกรณีการฝึกอบรมหรือการจัดกิจกรรม Sharing ที่ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่กำหนด
จากหน่วยงานกลาง แต่บางพื้นที่ได้นำเครื่องมือบางประเภทของการจัดการความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดการออกแบบกระบวนการใหม่และนำเสนอบริการทั้งลูกค้า (Walk-in) คู่ค้า (รายใหญ่) ที่เป็นกระบวนการใหม่ที่นำเรื่องเทคโนโลยัดิจิทัลมาใช้งาน  หรือบริการใหม่ในอนาคต สามารถนำมาตอบคำถามในประเด็นการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) นำไปสู่นวัตกรรมได้หรือไม่

ตอบ สามารถดำเนินการตอบได้ แต่ต้องมีประเด็นพิจารณา ได้แก่

1. การนำ KM มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมนั้น เป็นวัตถุประสงค์ตั้งแต่ก่อนดำเนินการ ไม่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ถึงเชื่อมโยงว่า ได้ใช้การจัดความรู้ (Knowledge Management : KM) ในการพัฒนานวัตกรรม

2. นวัตกรรม มีลักษณะเป็น incremental หรือไม่ หากมีลักษณะดังกล่าว ผู้ประเมินอาจจะจัดให้
อยู่ค่าเกณฑ์วัดระดับ 4

3. หากรัฐวิสาหกิจต้องการได้ระดับคะแนนที่ค่า 5 นั้น ต้องแสดงได้ว่านวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้องค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ

Q12 ขอสอบถามนิยามขององค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization :LO) และการกำหนดตัวชี้วัดในประเด็นดังกล่าวจะต้องเกี่ยวเนื่องกับมิติใด

ตอบ เกณฑ์การประเมินด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ไม่กำหนดนิยามขององค์การแห่งการเรียนรู้ โดยจะยกตัวอย่างแนวคิดของ Senge, Garvin, Marquardt ที่ได้นิยามไว้ว่า “where people continually expand their capacity to create the results they truly desire, where new and expansive patterns of thinking are nurtured, where collective aspiration is set free, and where people ate continually learning to see the whole (reality) together” ซึ่งจะให้องค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ จะต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข็มแข็งและบุคลากรต้องมีวินัย สามารถเชื่อมโยงกับแนวคิด Fifth Discipline ของ Senge ทั้งนี้ การกำหนดตัวชี้วัดในประเด็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อาจเชื่อมโยงกับแนวคิด Fifth Discipline หรือศึกษาข้อมูลตามเว็บไซต์ในประเด็น “success indicator of a learning organization” หรือ “characteristic of learning organization”

Q13 หากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีคณะกรรมการจัดการความรู้ 
โดยมีผู้ช่วยผู้จัดการเป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการ จะสามารถเพิ่มอำนาจหน้าที่การจัดทำแนวทางและวิธีการสอบทานการดำเนินงานของกระบวนการด้านความรู้ (KM Audit) 
ได้หรือไม่ หรือต้องดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านการจัดการความรู้เพื่อจัดทำแนวทางและวิธีการสอบถามการดำเนินงานดังกล่าว นอกจากนี้ การจัดทำ KM Audit และกระบวนการด้านการจัดการความรู้
ที่สำคัญ คือ การตรวจสอบกระบวนการจัดความรู้ ได้แก่ กระบวนการกำหนดองค์ความรู้ กระบวนการสร้าง
ความรู้ กระบวนการจัดเก็บองค์ความรู้ หรือการจัดการความรู้ เป็นต้น ในกระบวนการทำงานหลักของ
องค์กร ได้แก่ การถอดองค์ความรู้จากการปฏิบัติงานสินเชื่อ

ตอบ 1. จากข้อเท็จจริงข้างต้น องค์กรควรจัดตั้งหน่วยงานด้านการจัดการความรู้เพื่อจัดทำแนวทางและวิธีการสอบถามการดำเนินงานของกระบวนการด้านความรู้ (KM Audit) ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการความรู้ของ ธ.ก.ส. จะเป็นหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบ หากมีขั้นตอนหรือกิจกรรมที่ถูกสอบทาน

  1. กระบวนการที่สำคัญด้านการจัดการความรู้ คือ กระบวนการทำงานตั้งแต่จัดทำแผนการจัดการความรู้ การถ่ายทอดสื่อสารประเด็นการจัดการความรู้ การสร้างวัฒนธรรรมการเรียนรู้ และกระบวนการกำหนด/สร้าง/จัดเก็บ/แลกเปลี่ยน/ต่อยอดองค์ความรู้ ขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการทำงานตามแนวทางที่รัฐวิสาหกิจกำหนด โดยอาจจะพิจารณาจากความสำคัญของกระบวนการตามรูปภาพข้างต้น

Q14 หัวข้อ 4.1 การจัดการความรู้สู่การสร้างนวัตกรรม ค่าเกณฑ์วัดระดับที่ 1 กำหนดให้ การกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ (และค่าเป้าหมาย) ขององค์กร ในเชิงบูรณาการ จากทุกแหล่งทั้งภายในและภายนอกองค์กร นั้น 
จึงอยากสอบถาม “ตัวชี้วัดขององค์กร” คือ ตัวชี้วัดในส่วนของความรู้ไปสู่การสร้างนวัตกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ รูปแบบธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งเป็นด้านนวัตกรรม หรือหมายถึง ตัวชี้วัดขององค์กรใน 8 Enabler

ตอบ นิยามของ “ตัวชี้วัดที่สำคัญขององค์กร” ที่ระบุในคู่มือการประเมินผลการดำเนินตามระบบใหม่ หมายถึง ตัวชี้วัดที่สำคัญขององค์กรจากแหล่งทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น

  1. 1. บันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานประจำปี ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
  2. ตัวชี้วัดของกระทรวง/หน่วยงานต้นสังกัดและที่เกี่ยวข้อง
  3. ตัวชี้วัดจากแผนวิสาหกิจของรัฐวิสาหกิจ
  4. ตัวชี้วัดของแผนแม่บทที่สำคัญต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจเช่น ด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า การเทคโนโลยีดิจิทัล การบริหารทุนมนุษย์ และการจัดการความรู้และนวัตกรรม และการตรวจสอบภายในเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น
  5. ตัวชี้วัดระดับองค์กร ระดับสายงาน/หน่วยงาน และระดับอื่น ๆ
  6. ตัวชี้วัดของระบบ/กระบวนการทำงานที่สำคัญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นต้น

ทั้งนี้ องค์กรต้องกำหนดแนวทางการเรียนรู้/การจัดการความรู้จากผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดต่างๆ 
ดังกล่าว  เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
ที่สำคัญ การตลาด และรูปแบบธุรกิจ

Q15

  1. ตัวชี้วัดที่ 1.1 วิสัยทัศน์/ทิศทาง/นโยบายการจัดการความรู้ ได้กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินงาน หรือนโยบายรวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานขององค์กรเกี่ยวกับ
    การจัดการความรู้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยวิสัยทัศน์ ทิศทาง การดำเนิน หรือนโยบายดังกล่าว คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ 
    จึงขอสอบถามประเด็น ดังนี้

 1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีการจัดทำแผนแม่บทการจัดการความรู้ในระยะยาว
และแผนประจำปี และเสนอให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อทราบตรงตามเกณฑ์หรือไม่ หรือควรนำเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อพิจารณาแผนอีกครั้งหนึ่ง

 2) กทพ. สามารถจัดทำแผนแม่บทเพื่อจัดการความรู้ในระยะยาวและแผนประจำปี แยกออกเป็น 2 ฉบับได้หรือไม่ ได้แก่ ด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) และการจัดการนวัตกรรม(Innovation Management: IM) หรือต้องรวมเป็นฉบับเดียวกัน

2 ตัวชี้วัดที่ 1.2 บทบาทคณะกรรมการและคณะทำงานด้านนวัตกรรม ได้กำหนดให้ การกำหนดคณะกรรมการด้านวัตกรรมการกำหนดคณะกรรมการด้านนวัตกรรมระดับองค์กร ที่มีการจัดทำกฎบัตรซึ่งระบุอำนาจหน้าที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร… ” จึงขอสอบถามประเด็น ดังนี้

3) คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจของ กทพ. สามารถพิจารณาเพื่อเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
จัดการความรู้ในด้านการจัดการนวัตกรรมได้หรือไม่ หากองค์กรไม่มีคณะกรรมการจัดการนวัตกรรม

4) การจัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการจัดการด้านนวัตกรรมระดับองค์กร ซึ่งการอนุมัติเพื่อใช้งาน    กฎบัตรต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่

5) คณะกรรมการด้านนวัตกรรมระดับองค์กรต้องให้ความเห็นชอบต่อแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมหรือไม่

3 ตัวชี้วัดที่ 8.1 ผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมทั้งการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน ได้กำหนดให้ “กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่มีความท้าทาย โดยครอบคลุม 4 มิติ ตามหลักการ Balanced Scorecard (BSC) ได้แก่ 1) ด้านการเงิน Financial (F) ระดับ F1 F2 และ F3 ด้านลูกค้า Customer (C) ระดับ C1 C2 และ C3 ด้านกระบวนการภายใน Internal Process (I) ระดับ I1 I2 และ I3 และด้านการเรียนรู้และพัฒนา Learning & Growth (LG) ระดับ LG1 LG2 และ LG3” จึงขอสอบถามประเด็น ดังนี้

6) หากองค์กรขาดการดำเนินงานระดับใดของมิติ ยกตัวอย่างเช่น ด้านกระบวนการภายใน มีการดำเนินการ ในระดับ I1 คือ ความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมประจำปี และ I3 
คือ การจดทะเบียนทรัพสินทางปัญญาขององค์กรที่ทำการจดและได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย
ตามแผนประจำปี 
แต่ขาด I2 คือ รอบระยะเวลาเฉลี่ยตาม SLA ของกระบวนการจัดการนวัตกรรม
จนออกสู่การใช้งานจริงแล้ว จะมีแนวทางการประเมินผลด้านกระบวนการภายในอย่างไร

ตอบ ข้อ 1 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องให้ความเห็นชอบในประเด็นวิสัยทัศน์ ทิศทาง นโยบาย
ด้านการจัดการความรู้ แต่ไม่ต้องพิจารณาแผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)

 ข้อ 2 การจัดทำแม่บทเพื่อจัดการความรู้ในระยะยาวและแผนประจำปี สามารถแยกออกเป็น 2 เล่ม ได้แก่ ด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) และการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management: IM)

 ข้อ 3 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการเพิ่มอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรม
ของคณะกรรมการจัดการความรู้

 ข้อ 4 การอนุมัติเพื่อใช้งานกฎบัตรต้องนำเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ   ข้อ 5 คณะกรรมการจัดการนวัตกรรมต้องให้ความเห็นชอบต่อแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรม รวมถึงนำเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อทราบต่อไป

 ข้อ 6 การประเมินผลในแต่ละมิติจะพิจารณาจากการดำเนินงานเป็นร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานของแผนที่กำหนด

 

ประเด็นคำถามการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management : IM

Q1  ตามเกณฑ์การประเมินด้านบริหารจัดการนวัตกรรม ได้กำหนดให้ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการนวัตกรรมระดับองค์กร ทั้งนี้ จำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการนวัตกรรมระดับองค์กรชุดใหม่หรือไม่

ตอบ ไม่จำเป็นต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ด้านนวัตกรรม แต่สามารถใช้คณะกรรมการชุดเดิม
ที่รัฐวิสาหกิจมีอยู่ เช่น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการการจัดการความรู้ เป็นต้น
โดยกำหนดอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในส่วนของนวัตกรรมระบุลงในกฎบัตร และมีการเผยแพร่ให้บุคลากร
รับทราบ

 

Q2  นวัตกรรมในความหมายของเกณฑ์คืออะไร โดยต้องจำเป็นต้องมีระดับความซับซ้อนของเทคโนโลยีระดับใด

ตอบ ในหัวข้อบริหารจัดการนวัตกรรม ความหมายของนวัตกรรม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ภายในองค์กร ซึ่งคลอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อาจเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วในองค์กรอื่น แต่เกิดขึ้นครั้งแรกในองค์กรก็นับว่าเป็นนวัตกรรม

 

Q3  ในหัวข้อที่ 8 ด้านผลลัพธ์ของนวัตกรรม มีความจำเป็นหรือไม่ ในกรณีแต่ละโครงการจะต้องตอบสนองกับตัวชี้วัดทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านการเงิน ผลลัพธ์ด้านลูกค้า ผลลัพธ์ด้านกระบวนการภายใน และผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้

ตอบ ไม่จำเป็นที่แต่ละโครงการจะต้องตอบสนองกับตัวชี้วัดทั้ง 4 มิติ อาจตอบสนองกับตัวชี้วัดของมิติใดมิติหนึ่งก็ได้ แต่ในแผนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมจะต้องครอบคลุมตัวชี้วัดทั้ง 4 มิติ ทั้งนี้ในการกำหนดตัวชี้วัดดังกล่าวควรกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ของแต่ละโครงการที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถวัดผลสำเร็จ
ที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

Q4 นวัตกรรมกับ improvement มีเส้นแบ่งด้วยเกณฑ์อะไร เช่น นวัตกรรมมี impact กับองค์กรมากกว่าร้อยละ x ในแง่เพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่าย

ตอบ เส้นแบ่งคือ Newness (ความใหม่) และ Diffussion (การใช้งานที่แพร่หลาย) ของสิ่งนั้น 
และ Improvement จะ focus ที่  effectiveness และ efficiency

 

Q5 หัวข้อที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม จำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำแผนแม่บทเท่านั้นใช่หรือไม่      และหากกำหนดเป็นระเบียบ หรือเป็นข้อบังคับแทนแต่เนื้อหาครบถ้วนตามเกณฑ์ได้หรือไม่

ตอบ จำเป็นต้องมีการจัดทำแผนแม่บท

 

Q6 อยากสอบถามความแตกต่างของการรับฟังลูกค้าในหัวข้อ Customer Management และ        การรวบรวมเสียงของลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณ์และบริการ ในหัวข้อ Customer Management และการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ ในหัวข้อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อมุ่งเน้นลูกค้า นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการนวัตกรรมเพื่อมุ่งเน้นลูกค้าและตลาดจะต้องเป็นเทคโนโลยีประเภทใด ทั้งนี้ จดหมายอิล็กทรอนิกส์ 
(E-mail) เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลหรือไม่

ตอบ ข้อ 1 และ 2 มีหลักการเดียวกัน คือการเอารวบรวมเสียงของลูกค้า (Voice of Custome) 
เพื่อตอบสนองให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม แต่การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Management) จะเน้นกระบวนการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องเชื่อมโยงกับการจัดการความรู้และการบริหารความเสี่ยง และข้อ 3 ต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการ/ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ครอบคลุมมากกว่า ทั้งนี้ ต้องมีความเชื่อมโยงหัวข้อย่อย 2.1 การวางแผนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมของหัวข้อการจัดการนวัตกรรม เนื่องจากอยู่ในเกณฑ์การประเมินด้านการจัดการนวัตกรรม ดังนั้น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ต้องมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ลดขั้นตอนบริการ ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็วให้กับลูกค้า เป็นต้น เพื่อให้ความพึงพอใจลูกค้าเพิ่มขึ้น

 ---------------

 <หน้า 2>